Review: ยุวพุทธิกสมาคม ศูนย์ 2, ปทุมธานี (หลักสูตร พระราชสิทธิมุนี (วิ.))

bd4505dd34b1399cfc4dce7770eeab8d

หนึ่งปีผ่านไป รีวิวปฎิบัติธรรมก็มาอีกแล้วค่ะ ^^

ปีนี้ก็กลับไปที่ยุวพุทธิกสมาคม ศูนย์ 2 ปทุมธานีเหมือนเดิมนะคะ คงจะไม่ต้องรีวิวเรื่องสถานที่มาก เพราะมันเหมือนกับคอร์สของ อ.เรณูที่ได้รีวิวไปก่อนหน้านี้แล้วค่ะ พอดีว่าได้ปฎิบัติในอาคารเดิม ระบบการจัดการเรื่องน้ำอาหารก็เหมือนเดิมทุกอย่างเลยนะคะ ใครต้องการแผนที่ศูนย์หรืออยากเห็นบรรยากาศศูนย์ สามารถกลับไปหาอ่านได้ที่รีวิว คอร์ส อ. เรณู ที่ได้เขียนไว้เมื่อปีที่แล้ว บัวได้รีวิวเอาไว้อย่างละเอียด เพราะส่วนตัวแล้วเป็นคนที่ชอบเห็นสถานที่จริงก่อนได้ไปปฎิบัติค่ะ (ปลงไม่ได้จริงๆหนิน้อ) แต่ถ้าจะให้สรุปโดยย่อ ณ ตอนนี้คือ สถานที่ดีมากๆและสะดวกมากๆค่ะ

ศูนย์ 2

ปีนี้ได้โอกาสเข้าคอร์สของพระราชสิทธิมุนี (วิ.) หรือที่จะขออนุญาตเรียกสั้นๆต่อจากนี้ไปว่า “พระราชวิ” ซึ่งเป็นคอร์สที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากค่ะ บัวได้รับการแนะนำให้ไปปฎิบัติในหลักสูตรนี้จากคนถึง 2 คนด้วยกัน ก็เลยตัดสินใจสมัครไป หลักสูตรเต็มเร็วค่อนข้างมากเลยนะคะ ถ้าสนใจที่จะเข้าปฎิบัติควรสมัครก่อนล่วงหน้าซักหน่อยค่ะ คอร์สที่เข้าในครั้งนี้เป็นแบบ 10 วัน คอร์สของพระราชวิจะมีแบบ 7 วันด้วยค่ะ แต่ทุกครั้งที่เข้าคอร์ส 7 วันจะรู้สึกเสมอเลยว่าเวลามันน้อยเกินไป ปฎิบัติไม่ได้ถึงไหนก็ต้องออกจากปฎิบัติอีกแล้ว เสียดายทุกทีเลย ก็เลยเลือกเข้าแบบ 10 วันแทนในปีนี้

คอร์สนี้เป็นคอร์สที่ต้องถือศีล 8 นะคะ แต่ถ้าหากโยคีท่านไหนไม่สามารถถือศีล 8 ได้ เพราะเหตุผลทางด้านสุขภาพหรืออื่นๆ ก็สามารถรับแค่ศีล 5 ได้ค่ะ ทางศูนย์จะจัดส่งเป็นอาหารกล่องให้ในช่วงเย็น ส่วนท่านที่ถือศีล 8 ก็จะได้รับเป็นน้ำปานะ วันไหนที่ไม่มีน้ำปานะจัดไว้ให้ท่านก็สามารถชงน้ำปานะดื่มเองได้ตามจุดบริการน้ำที่ศูนย์จัดเอาไว้ให้ค่ะ หลักๆก็จะมีพวกเครื่องดื่มชงชนิดต่างๆ ไมโล เก็กฮวยแบบชง

เรื่องอาหารของทางศูนย์จะเป็นอาหารมังสวิรัติ คือไม่มีเนื้อสัตว์ แต่มีไข่ค่ะ รสชาติอาหารของยุวพุทธนั้นบัวไม่เคยห่วงเลย เพราะอาหารของทางศูนย์ดีมากจริงๆ รสชาติกลางๆ คิดว่าทุกคนสามารถทานได้ ไม่มีปัญหาอะไรค่ะ

แนวทางการปฎิบัติ

แนวทางการปฎิบัติของคอร์สนี้จะเป็นแบบพอง-ยุบ เน้นการกำหนดด้วยการบริกรรมพองหนอ ยุบหนอ การเดินจงกรมก็ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ และมีการกำหนดอิริยาบทย่อยเหมือนของหลักสูตรคุณแม่สิริกับอาจารย์เรณูนะคะ เนื่องจากคอร์สนี้เป็นคอร์สแบบเข้มข้น จึงไม่ค่อยเหมาะกับผู้ปฎิบัติใหม่ เพราะเค้าจะเน้นให้ปฎิบัติเองทั้งหมด จะไม่มีการมาสอนพื้นฐานแล้วค่ะ ถ้าใครเพิ่งได้ปฎิบัติเป็นครั้งแรก อาจจะงง เบื่อ และรู้สึกลำบากได้ค่ะ บัวเห็นน้องคนนึงเพิ่งมาใหม่ น่าสงสารมาก เพราะน้องไม่รู้เรื่องการปฎิบัติมาก่อนเลย แม้แต่การนั่งกำหนดพอง-ยุบ บัวจึงอยากเน้นในรีวิวนี้นิดนึงถึงเรื่องการสำรวจความพร้อมก่อนลงสมัครในคอร์สนี้ ทางยุวพุทธเองก็แนะนำให้มีการเข้าคอร์สของคุณแม่สิริอย่างน้อย 2 ครั้งก่อนเข้าคอร์สนี้ ซึ่งบัวก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ในคอร์สก็จะมีการสอบอารมณ์โดยพระอาจารย์ทั้งหมด 3 ท่าน เราจะได้พบพระราชสิทธิมุนี วิ. 1 ครั้งนะคะ ตามตารางของบัวซึ่งบัวไม่แน่ใจว่าตารางของแต่ละกลุ่มเหมือนกันแค่ไหน การสอบอารมณ์จะเริ่มในวันที่ 3 ของการปฎิบัติ และจะมีการสอบอารมณ์ต่อเนื่องกันแทบทุกวัน แต่ก็มีบางวันที่มีเว้นไว้เหมือนกันคงจะเพราะไม่สามารถจัดตารางให้ตรงกับของพระอาจารย์ทุกๆท่านได้ ยังไงก็ให้ดูตามตารางที่ทางเจ้าหน้าที่เค้าไปแจกเอาไว้ให้นะคะ

พระอาจารย์ที่สอบอารมณ์แต่ละท่านก็จะมีสไตล์การสอบอารมณ์ที่แตกต่างกันค่ะ และแต่ละท่านก็จะมีเทคนิคที่แตกต่างกันในการสอนให้เรานำไปใช้เพื่อแก้สภาวะที่เรากำลังเจอ และท่านก็จะช่วยเราในการปรับอินทรีย์ทั้ง 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ และสมาธิให้เสมอกัน เพื่อความก้าวหน้าในการปฎิบัติต่อไป การสอบอารมณ์ก็ควรเข้าสอบทุกครั้งที่ทางศูนย์จัดให้มีตารางการสอบ ถึงแม้จะรู้สึกว่าไม่มีอะไรจะเล่าให้พระอาจารย์ฟังเลยก็ตาม แต่อาการฟุ้ง อาการง่วง ปวดตรงนู้นตรงนี้ ท่านสามารถนำไปเล่าให้พระอาจารย์ท่านฟังได้ จัดเป็นสภาวะทั้งหมด การสอบอารมณ์ก็ควรเล่าให้ละเอียด แต่เล่าเฉพาะเรื่องที่สำคัญๆนะคะ ถ้าสับสนก็เล่าไปก่อนก็ได้ค่ะ ซักพักก็จะทราบเองว่าเรื่องไหนสำคัญ เรื่องไหนไม่สำคัญ อย่ากลัว อย่าตื่น คำว่าสอบมันไม่ได้มีอะไรหรอกค่ะ ก็แค่เป็นการเล่าความเป็นไปในการปฎิบัติให้พระอาจารย์ท่านฟัง

ตารางการปฎิบัติธรรม

ตอนจะเข้าหลักสูตรนี้ ตารางหายากค่ะ เพราะไม่มีลงไว้บนเว็บไซต์ ไม่ทราบว่าตอนนี้มีการลงไว้ให้บ้างหรือยัง แต่บัวจะแปะลิงค์ตารางการปฎิบติเอาไว้ให้ที่ตรงนี้เลยนะคะ ท่านได้จะได้หายสงสัยกันด้วย

TTable(RV)

ส่วนตัวแล้วคิดว่าตารางของคอร์สนี้จัดไว้ดีมากๆค่ะ เพราะให้เวลาในการเตรียมตัวในช่วงเช้าค่อนข้างมาก และให้เวลาในการทานข้าวค่อนข้างมากด้วย ถ้าเป็นผู้ปฎิบัติที่เอาจริงเอาจังในการกำหนดอิริยาบทย่อยจะไม่รู้สึกกดดันมากจนเกินไป

ส่วนเวลาในการเข้าศูนย์ และออกจากศูนย์ก็สามารถดูได้จากตารางในวันเปิดและวันปิดได้เลยค่ะ โดยในวันเปิด แนะนำให้เข้าศูนย์ให้ได้ก่อน 10.30 น. ซึ่งถือว่าสายแล้วนะคะ ถ้าท่านจะเข้าไปสายกว่านั้น ควรโทรแจ้งทางศูนย์ให้ทราบก่อนล่วงหน้าค่ะ

อีกอย่างที่ดีมากๆของศูนย์นี้คือเค้าจะมีสัญญาณเตือนทุกๆ 15 นาที ทำให้สามารถรู้เวลาได้คร่าวๆโดยไม่ต้องพะวงกับการดูนาฬิกาอยู่ตลอดเวลา ดีต่อการปฎิบัติมากๆค่ะ

การปฎิบัติรอบนี้เป็นรอบที่ประทับใจมาก เพราะสภาวะที่เกิดชัดเจน อาจจะเป็นเพราะเราได้ทำความรู้จักกับสถานที่แล้วด้วย ทำให้ไม่มีความกังวลสงสัย พระอาจารย์ก็สอบอารมณ์ได้ดีค่ะ มีความใส่ใจและตั้งใจมากๆ

ในศูนย์นี้ เค้าจะไม่มีการยึดมือถือเราค่ะ และจะไม่มีวิทยากรคอยตรวจเช็คว่าเราปฎิบัติมั้ย หรือเรานอนอยู่ ทุกอย่างเราต้องมีวินัยเอาเอง มีมือถือ เค้าบอกไม่ให้เปิด ก็อย่าไปเปิด ง่วง ขี้เกียจก็ต้องหาทางจัดการตัวเองให้ได้อย่างเหมาะสม เราถึงจะประสบความสำเร็จในการปฎิบัติในคอร์สนี้ ที่บัวประทับใจมากๆคือ ตั้งแต่ไปอยู่มา 10 วัน แทบไม่ได้ยินเสียงคนพูดกันเลยค่ะ มันเงียบยิ่งกว่าคอร์ส อ.เรณูซะอีก และทุกคนก็ปฎิบัติกันหมดโดยไม่ต้องมีใครไปบังคับ บัวว่ามันเป็นบรรยากาศที่ดีมากๆในการทำความเพียร เหมือนมีคนหลายๆคนสู้ไปพร้อมๆกับเราด้วย ดีมากค่ะ

รีวิวครั้งนี้ไม่รู้จะเขียนอะไร เพราะมันก็เหมือนเดิมค่ะ ไม่ได้มีอะไรมาก โอวาสที่ให้ก็ให้โดย พระราชสิทธิมุนี วิ. ซึ่งท่านก็จะพูดเรื่องการปฎิบัติ และความสำคัญของการปฎิบัติซะเป็นส่วนมาก จะพูดว่าประทับใจเลย ก็คงจะไม่ได้ แต่ประการณ์โดยรวมมันดีมากๆค่ะ เป็นครั้งแรกที่รู้สึกอย่างแท้จริงว่าการปฎิบัติธรรมมันเป็นเรื่องของการเรียนการศึกษาจริงๆ และมีความเป็นระบบค่อนข้างมาก เป็นการเรียนรู้สภาพตามธรรมชาติของจิต ส่วนตัวแล้วบัวได้เข้าใจอะไรหลายๆอย่างมากขึ้น ความรู้สึกนี้ อาจจะไม่ได้เป็นเพราะคอร์สนี้มันดีมากๆ แต่เป็นเพราะความพร้อมหลายๆอย่างของทั้งสถานที่ ของพระอาจารย์ ของคณะผู้ประสานงาน/ผู้บริการ และของตัวเอง ซึ่งมันประกอบต่อกันได้ลงล็อคพอดี ถ้าจะบอกว่าประทับใจอะไร ทำไมถึงรู้สึกว่าครั้งนี้ดีกว่าครั้งก่อนๆ บัวว่ามันตอบยาก มันเป็นความรู้สึกลึกๆ ที่อยากจะให้ไปสัมผัสเองมากกว่า

เรื่องการเตรียมสัมภาระอื่นๆก็ขออนุญาติให้กลับไปอ่านที่รีวิว คอร์ส อ.เรณู นะคะ เลื่อนลงมาท้ายๆหน่อย บัวได้เขียนรายการสิ่งของที่ท่านควรเตรียมติดตัวเพื่อเข้าศูนย์เอาไว้ให้แล้ว และเนื่องจากคอร์สนี้เป็นคอร์สพระ ท่านผู้ปฎิบัติที่เป็นผู้หญิงมีความจำเป็นที่จะต้องใส่สะไบ และนุ่งผ้าถุงสีขาวหรือกระโปรงที่ยาวประมาณตาตุ่มค่ะ เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ปฎิบัติหญิง สิ่งที่ต้องเตรียมไปเพิ่มเติมคือ

1.สะไบ (ถ้าไม่เป็นแบบสำเร็จรูปควรเตรียมเข็มกลัดไปด้วย ถ้าลืมเอาไป ทางศูนย์มีจัดเอาไว้ให้ค่ะ)

2. ผ้าถุงแม่ชีสีขาวหรือกระโปรง (ผ้าถุงแม่ชีแนะนำแบบสำเร็จรูปเท่านั้น แบบไม่สำเร็จรูปอาจจะต้องซื้อเข็มขัดเงินของพวกที่รำไทยไปอีกเส้น ซึ่งไม่สะดวกเลยค่ะ)

หวังว่าท่านจะได้ประโยชน์จากรีวิวคอร์สปฎิบัติธรรมนี้ไม่มากก็น้อย และขอให้ท่านได้พบกับหนทางที่ท่านชอบ และพบกับความสุขและความสงบของจิตใจกันทุกคนนะคะ

photo cr: http://www.vipassanathai.org/files/monk/bd4505dd34b1399cfc4dce7770eeab8d.jpg

Posted in Uncategorized | Leave a comment

Review: ยุวพุทธิกสมาคม ศูนย์ 2, ปทุมธานี (หลักสูตร อ.เรณู ทัศณรงค์)

อาจารย์เรณู

สวัสดีค่ะ ห่างหายไปนานมากเพราะยุ่งทางโลกซะเยอะ แต่ปีนี้ก็ยังได้ไปปฎิธรรม เจริญสติเหมือนทุกๆปี และได้มีโอกาสร่วมในหลักสูตรและสถานที่ๆแตกต่างจากที่ได้เคยเขียนรีวิวไปแล้ว จึงอยากจะมาแนะนำสถานที่ใหม่ๆ หลักสูตรใหม่ๆให้ผู้สนใจได้เข้ามาลองศึกษา ลองดู ลองชม ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าปฎิบัติกันค่ะ

หลักสูตรที่ได้เข้าปฎิบัติในปีนี้คือ หลักสูตรของ อ.เรณู ทัศณรงค์ ที่ยุวพุทธิกสมาคม ศูนย์ 2, ปทุมธานี โดยได้รู้จัก อ.เรณู จากวิดีโอที่เปิดฟังระหว่างที่ได้เข้าปฎิบัติในหลักสูตรของคุณแม่สิริที่ศูนย์ 1 ตอนนั้นรู้สึกประทับใจในตัวอาจารย์มาก เพราะท่านให้โอวาสเก่ง อธิบายเก่ง เข้าใจง่าย มีอารมณ์ขัน และที่สำคัญคือ เราสามารถรู้สึกได้ถึงความตั้งใจในการสอนและการปฎิบัติของท่าน เลยคิดเอาไว้ตั้งแต่ปฎิบัติที่ยุวพุทธในครั้งแรกแล้วว่า ซักวันจะเข้าปฎิบัติในหลักสูตร อ.เรณู ดู

ศูนย์ 2

หลักสูตรของ อ.เรณูที่จัดที่ศูนย์ 2 จะมีทั้งหมด 2 หลักสูตร คือหลักสูตรพื้นฐานและหลักสูตรเข้มข้น ซึ่งหลักสูตรที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นหลักสูตรเข้มข้นค่ะ ทางยุวพุทธได้เขียนแนะนำไว้ว่าผู้ที่สมัครเข้าปฎิบัติควรที่จะเคยได้เข้าร่วมในหลักสูตรพัฒนาจิตของคุณแม่สิริให้ได้ครบ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อยก่อน เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน ส่วนในหลักสูตรนี้จะเป็นการนำทุกสิ่งทุกอย่างทั้งเรื่องของการเดิน การนั่ง และการกำหนดอิริยาบทย่อยมาใช้ในการปฎิบัติอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม จากที่ได้ฟังมา ก็มีหลายคนในคอร์สที่ไม่เคยปฎิบัติที่ศูนย์ 1 มาก่อน หรือผ่านศูนย์ 1 มาเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้นอยู่เหมือนกัน ส่วนตัวแล้วคิดว่า ควรทำตามคำแนะนำของศูนย์ค่ะ คือเข้าปฎิบัติในหลักสูตรของคุณแม่สิริอย่างน้อย 2 ครั้งเสียก่อน (สำหรับคนที่ไม่เคยปฎิบัติที่อื่นเลย) จึงจะสมัครเข้าปฎิบัติในคอร์สเข้มข้นนี้ เพื่อที่จะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการปฎิบัติ

ในการรีวิวครั้งนี้ ขออนุญาตข้ามในส่วนของการสมัครและหลักเกณฑ์ในการสมัครไปก่อนเลยนะค่ะ หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้จากรีวิวหลักสูตรคุณแม่สิริ ที่ได้เขียนไปแล้วโดยคลิกที่นี่ หรือท่านสามารถหาอ่านข้อมูลต่างๆได้จาก www.ybat.org ซึ่งการสมัครสามารถทำได้อย่างสะดวกสบายบนเว็บไซต์ หรือโดยการส่งจดหมายค่ะ

การเดินทางและแผนที่

ตามที่ได้กล่าวมาแล้วคือ หลักสูตรเข้มข้นของ อ.เรณู จะจัดที่ศูนย์ 2 ซึ่งอยู่ไกลพอสมควร การบอกแท็กซี่เพื่อไปถึงจุดหมายปลายทางหลักๆคือบอกว่าอยู่ที่วัดพระธรรมกาย เข้าถนนเลียบคลอง 3 ตรงเข้าไป 9 กม. ก็จะเจอสมาคม บอกนิดนึงว่าแท็กซี่บ่นเรื่องระยะทางกันนิดนึง แต่แท็กซี่ส่วนใหญ่ยอมไปนะคะ คิดว่าถ้าท่านไม่มีรถ การเดินทางไปศูนย์ปฎิบัติก็คงจะไม่ยากจนเกินไป ส่วนด้านล่างเป็นแผนที่และเบอร์ติดต่อของศูนย์ที่ควรมีติดตัวเอาไว้ถ้าท่านมาจากต่างจังหวัดและกลัวหลงค่ะ

140324 แผนที่ 02

ที่ตั้ง ๑๙ หมู่ ๑๖ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี ๑๒๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๘๖-๐๑๕-๑๔๕๑ โทรสาร ๐-๒๙๘๖-๖๔๐๓-๔ ต่อ ๑๑๑
อีเมล์ ybat02@ybat.org

การเตรียมตัวเข้าศูนย์และตารางการปฎิบัติ

เมื่อท่านมาถึงศูนย์ในวันแรกของการปฎิบัติ ท่านสามารถขับรถไปตามป้ายบอกทาง ซึ่งจะชี้ไปที่ตึกปฎิบัติเพื่อลงทะเบียน และจัดเอากระเป๋าขึ้นห้อง ทางศูนย์มีบริการช่วยยกกระเป๋าให้สำหรับท่านที่ยกกระเป๋าขึ้นตึกไม่ไหวค่ะ เพราะห้องปฎิบัติจะอยู่ที่ชั้น 2  เยอะเหมือนกัน ตามตารางแล้วเวลาลงทะเบียนจะอยู่ที่ 8.30-10.30 น. จากนั้นก็จะเข้าปฐมนิเทศน์ในเวลา 10.30-11.30 น. วิทยากรจะทำความเข้าใจกับเราเรื่องของข้อตกลงและการใช้ชีวิตในศูนย์ ซึ่งคิดว่าคล้ายคลึงกันกับของศูนย์ 1 คือให้ปิดวาจา, ไม่ให้เขียนไดอารี่ หรืออ่านหนังสืออะไรทำนองนั้น ในวันที่ท่านเดินทางไปศูนย์ขอแนะนำให้ใส่ชุดขาวมาจากบ้านเลย หรือถ้าไม่สะดวกจะเอามาเปลี่ยนเอาที่ศูนย์ก็ได้ค่ะ

สำหรับท่านที่มาจากต่างจังหวัด และจะเข้าศูนย์หลังเวลาปฐมนิเทศน์ ท่านสามารถโทรแจ้งสมาคมก่อนได้ ท่านจะพลาดในส่วนของการปฐมนิเทศน์ไป แต่คิดว่าไม่มีผลอะไรมาก ถ้าเราได้อ่านข้อตกลงในการเข้าอบรมในหลักสูตรตั้งแต่ตอนสมัครเข้าปฎิบัติและพร้อมที่จะปฎิบัติตามข้อตกลงเหล่านั้นอยู่แล้ว

image

เมื่อเข้าตึกและเดินบันไดขึ้นชั้น 2 ของอาคาร จะเจอห้องปฎิบัติ ซึ่งจะใช้เป็นที่รวมตัว สวดมนต์ และทำกิจกรรมอื่นๆเช่นการฟังธรรมะบรรยายตามเวลาที่นัดหมาย ห้องปฎิบัตินี้ไม่ได้ใหญ่เหมือนของศูนย์ 1 ค่ะ แต่ก็เป็นห้องปรับอากาศ ซึ่งเค้าจะเปิดเครื่องปรับอากาศเอาไว้เฉพาะเวลาที่ต้องใช้ห้องเท่านั้น คือเวลาเช้า 4.30 น. จนถึงไปเวลาอาหารเช้า  และช่วงเย็นเวลา 17.00 น. ไปจนถึง 21.30 น.

ด้านล่างเป็นรูปของห้องพัก ซึ่งมีทั้งชั้น 1 และชั้น 2 ของอาคาร ส่วนรูปนี้ถ่ายจากห้องพักชั้น 2 ค่ะ

image

image

ห้องพักทุกห้องเหมือนกันหมดค่ะ เป็นห้องเดี่ยว มีห้องน้ำในตัว มีราวเกาะสำหรับผู้สูงอายุด้วย ถ้าใครต้องการเตรียมผ้าห่มมาเองจากที่บ้าน เอาเป็นผ้าห่มบางๆก็พอค่ะเพราะห้องของเค้าเป็นห้องพัดลม โดยจะมีพัดลมติดผนังตายตัวเลย 1 ตัว และมีพัดลมตั้งพื้นแบบยกออกไปใช้งานที่ไหนก็ได้อีก 1 ตัว ในห้องเค้าได้เตรียมอาสนะสำหรับนั่งสมาธิ ผ้าเช็ดโต๊ะ อุปกรณ์ทำความสะอาดจานชาม และพวกขันอาบน้ำเอาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว

image

image

ข้างๆของทุกห้องจะมีซองเป็นพื้นที่เปิด และค่อนข้างโปร่งมากอยู่ เป็นที่ๆเราชอบมาเดินจงกรมและนั่งสมาธิกันในเวลาปฎิบัติอิสระ เราสามารถนำพัดลมจากในห้องมาใช้ที่นี่ได้ถ้ารู้สึกว่าอากาศมันร้อนเกินไป โดย 1 ซองจะใช้ร่วมกัน 2 ห้องค่ะ

ความพิเศษของศูนย์นี้อีกอย่างนึงคือ ทางศูนย์จะมีการกดกริ่งทุกๆ 15 นาที ซึ่งเวลาที่แตกต่างกันกริ่งก็จะดังในจังหวะที่แตกต่างกัน คิดว่าคล้ายๆกับนาฬิกาคุกคูสมัยก่อน โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าการกดกริ่งแบบนี้เป็นประโยชน์มากๆต่อการกะเวลาในการปฎิบัติ ปฎิบัติ 1 ชม. ก็แค่รอกระดิ่งตีครบ 4 ครั้ง ไม่ต้องเสียสมาธิพะวงกับนาฬิกาบ่อยๆ ดีมากๆเลยค่ะ

ส่วนอาหารการกินของศูนย์นี้ก็จะไม่ต่างจากของศูนย์ 1 มากนัก คือจะเป็นอาหารมังสวิรัติ รสชาติดี โดยเราจะต้องเดินลงไปตักอาหารบริเวณชั้น 1 แล้วนำกลับเข้ามาทานอาหารในห้อง ซึ่งในห้องก็จะมีช้อนส้อม แก้วน้ำ และแก้วสำหรับใส่เครื่องดื่มร้อนๆไว้ให้ เมื่อเราทานเสร็จก็ล้างเฉพาะส่วนของสิ่งของที่ติดมากับห้องเรา ส่วนถาดอาหารก็วางเอาไว้หน้าห้องรอให้เจ้าหน้าที่มาเก็บค่ะ สำหรับมื้อเย็นหรือมื้ออาหารว่างนั้น เจ้าหน้าที่จะเข้ามาวางเอาไว้ที่หน้าห้องให้เราเอง ถ้าท่านไม่ต้องการทานของว่างเพราะต้องการถือศีล 8 เจ้าหน้าที่จะติดป้าย “งดของว่าง” ไว้ให้แทนค่ะ

ไม่ได้ถ่ายรูปส่วนของสเตชั่นน้ำมาค่ะ แต่ที่นี่จะมีสเตชั่นน้ำบริการ โดยจะมีคูลเลอร์น้ำเย็น มีกระติกน้ำร้อน มีนมกล่องชนิดต่างๆ และเครื่องดื่มชงชนิดต่างๆอยู่  และที่สเตชั่นนี้จะมีขวดน้ำขนาดใหญ่วางอยู่เป็นจำนวนมาก ขวดน้ำเหล่านี้เราสามารถนำเข้าไปดื่มเองในห้องของเราได้ พอดื่มจนหมด ก็เอาขวดเปล่ากลับมาใส่ตะกร้าไว้ แล้วเอาขวดใหม่ไปดื่มต่อได้อีก

ถ้าท่านลืมนำสิ่งของอะไรไปและต้องการจะฝากทางศูนย์ซื้อ หรือถ้าท่านต้องการจะสื่อสารอะไรกับเจ้าหน้าที่ของทางศูนย์ ในห้องจะมีปากกาและสมุดฉีกเอาไว้ให้ท่านเขียนแล้วนำมาวางที่โต๊ะหน้าห้อง เมื่อเจ้าหน้าที่ผ่านมาเห็นก็จะจัดการเป็นธุระให้ค่ะ

อาจจะเล่าหยาบๆซักหน่อยในรีวิวนี้ แต่ยังรู้สึกอยู่เสมอๆว่าระบบของยุวพุทธเป็นระบบที่ดีจริงๆ เรื่องความสะอาดก็ดีมากด้วยค่ะ ถ้าท่านได้เคยไปที่วัดปฎิบัติอื่นๆมาก่อน ท่านจะทราบในข้อนี้ดี ขอรับรองให้มั่นใจอีกทีเรื่องความสะดวกและความสัปปายะค่ะ

การปฎิบัติ

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น การปฎิบัติในหลักสูตรนี้เป็นการปฎิบัติที่ต้องอาศัยพื้นฐานของการปฎิบัติแบบพอง-ยุบ หรือสติปัฎฐาน 4 ตามแบบของคุณแม่สิริ กริณชัย ขอเน้นอีกครั้งหนึ่งเรื่องความสำคัญของการมีพื้นฐานที่ดีในการปฎิบัติมาก่อนเข้าหลักสูตรนะคะ เพราะเท่าที่ได้สัมผัสมา วิทยากรจะบอกเป็นแนวทางเท่านั้นว่าวันนี้ต้องเดินระยะนี้ เท่านี้ และทวนจังหวะการเดินบ้างเล็กน้อย แต่จะไม่มีการมาสอนเดินพร้อมกันเหมือนคอร์สเบื้องต้น ถ้าท่านไม่มีพื้นฐานที่ดีมาก่อน ก็อาจจะงงได้ค่ะ

ส่วนตารางการปฎิบัติในทุกๆวันก็จะเหมือนกันทั้งหมดตามด้านล่างนี้เลยนะคะ

4.00-4.30 น.  สรีระกิจ

4.30-5.00 น. ปฎิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ

5.00 น.           นั่งสมาธิพร้อมกันที่หอธรรม

5.30 น.            สวดมนต์ ทำวัตรเช้า ฟังบรรยายธรรม

7.00 น.            อาหารเช้า

8.00 น.            ปฎิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ

(สอบอารมณ์เริ่มวันที่ 3 ของการปฎิบัติ โดยเจ้าหน้าที่จะนำตารางเวลาของท่านวางไว้ให้ที่หน้าห้อง)

11.30 น.           อาหารกลางวัน

12.30 น.          ปฎิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ

16.00 น.          รับประทานของว่าง (ขนม/ผลไม้)

17.00 น.          นั่งสมาธิพร้อมกันที่หอธรรม

17.30 น.          สวดมนต์ ทำวัตรเย็น ฟังบรรยายธรรม

19.15 น.           ปฎิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ

21.30 น.           พักผ่อน

เนื่องจากหลักสูตรนี้เน้นการกำหนดอิริยาบทย่อย ถ้าเราตั้งใจในการกำหนดมากๆ จะทำอะไรได้ช้าหน่อย ก็อาจจะทำให้ตารางที่เค้าจัดไว้เลื่อนหรือคลาดเคลื่อนไปบ้าง บางครั้งอาจจะเข้าห้องกรรมฐานสายไปนิดหน่อย เค้าก็ไม่ได้ว่าหรือตำหนิอะไรค่ะ เพียงแต่อยากให้ค้นใจตัวเอง สำรวจพฤติกรรมตัวเองให้แน่ชัดว่า ที่เราช้าบ้างนิดหน่อยนี้ เป็นเพราะเราตั้งใจปฎิบัติจริงๆ ไม่ได้เหลวไหล ไม่ได้อู้ การปฎิบัติคือการงานอย่างหนึ่งค่ะ และเป็นการงานที่เราต้องอาศัยความขยันขันแข็งเยอะเลยทีเดียว

ในหลักสูตรเข้มข้นนี้ เค้าใช้ระบบไว้ใจกันซะเยอะค่ะ เพราะทางศูนย์จะถือว่าเป็นกลุ่มคนที่ตั้งใจมากจริงๆ ทางศูนย์จึงไม่มีการเก็บโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ เค้าเพียงแต่ไว้ใจให้ท่านทำตามกฎกติกาของเค้า เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง และผู้ร่วมปฎิบัติท่านอื่นๆด้วย

วิทยากรจะพยายามเน้นว่า ในหลักสูตรนี้ อยากให้โยคีผู้ปฎิบัติเจริญสติให้มีความต่อเนื่อง จะพยายามไม่ให้มีการนอนกลางวัน ซึ่งจริงๆแล้วเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ปฎิบัติค่ะ แต่ก็อาจจะมีบางคนที่ไม่ไหวแล้วนอนไปเหมือนกัน เพราะวิทยากรก็ไม่ได้เดินมาตรวจห้องบ่อยๆตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม เท่าที่ได้เห็นมา ทุกคนตั้งใจปฎิบัติกันมาก ที่เห็นนอนจริงๆก็เป็นพวกผู้ป่วย ที่ปฎิบัติไม่ค่อยไหว แต่พอเค้ารู้สึกดีขึ้น เค้าก็ลุกขึ้นมาเดินจงกรม นั่งกรรมฐานกันตลอด จนตัวเราเองยังแปลกใจว่าคอร์สนี้สามารถรวมคนที่ตั้งใจปฎิบัติมาได้เยอะขนาดนี้ได้ยังไง ตั้งแต่ได้อยู่มา 7 วันแทบไม่ได้ยินเสียงคนพูดเลยค่ะ หรืออาจจะเรียกว่าไม่มีเลยก็ได้ บรรยากาศในการปฎิบัติและการเจริญสติมันดีมากๆๆๆๆถึงมากที่สุด จนตัวเราเองยังรู้สึกโชคดีที่สมัครเข้ามาปฎิบัติในหลักสูตรนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างมันทำให้เรามีกำลังใจในการปฎิบัติและพากเพียรพยายามต่อไปเรื่อยๆจนถึงวันสุดท้าย และถึงแม้ว่าจะไม่เคยได้พูดกันเลย อาจจะไม่ได้สบตากันด้วยซ้ำ เพราะต่างคนต่างก้มหน้าก้มตาปฎิบัติ แต่ความตั้งใจของแต่ละคนมันเป็นพลังที่สุดยอดเลยจริงๆ

กับศูนย์นี้และคอร์สนี้มีแต่เรื่องประทับใจในระดับจิตวิญญาณ จนมันบดบังข้อดีส่วนอื่นๆทั้งหมด ถ้าท่านมีความตั้งใจจริง และมีความสนใจในหลักการปฎิบัติแบบคุณแม่สิริ หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรแนะนำเลยค่ะ

เรื่องการเตรียมของส่วนตัวต่างๆ ขอฝากรายการเอาไว้ด้านล่างนี้เลยนะคะ

  1. ชุดขาวล้วนทั้งชุด ไม่มีลาย ไม่มีสี ไม่มีตัวหนังสือ ไม่บาง ไม่โป๋ ไม่สั้น
  2. เครื่องใช้ส่วนตัว เช่นแปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว หรือเสื้อนอน และอาจจะมีครีมนิดหน่อยสำหรับคนผิวแห้งนะค่ะ เพราะเราต้องอยู่ในห้องแอร์ตลอด
  3. เสื้อหนาวสีขาวหรือผ้าคลุมกันหนาวสีขาว ไม่มีสี ไม่มีลาย ไม่มีตัวหนังสือ (ควรมีเอาไว้เผื่อหนาวค่ะ)
  4. ถุงเท้าใส่ในตึก อันนี้แล้วแต่บางคนค่ะ
  5. รองเท้าใส่อาบน้ำ อันนี้ก็แล้วแต่เหมือนกันค่ะ แต่เราใส่นะ เพราะกลัวลื่นหลายๆอย่าง
  6. ยาประจำตัว ยาพื้นฐาน ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ ถ้าไม่เอาไปก็ฝากเค้าซื้อได้ค่ะ เค้ามีบริการ
  7. ปลอกหมอนโตๆ และผ้าห่ม ถ้าไม่ชอบใช้เครื่องนอนของศูนย์

ขอให้เจริญในธรรมกันทุกคนเลยนะคะ

Credit รูปภาพ: http://www.ybat.org, http://www.youtube.com

 

 

 

 

 

Posted in Uncategorized | 1 Comment

คุณคิดว่ามันยากแค่ไหน ที่ใครคนนึงจะรู้ตัวว่ากำลังอยู่ในกองทุกข์

มีหลายครั้งที่ถามตัวเองว่า “คุณคิดว่ามันยากแค่ไหน ที่ใครคนนึงจะรู้ตัวว่ากำลังอยู่ในกองทุกข์” และเมื่อได้อ่านบทความจาก ธนาคารความสุข บนเฟสบุ๊ค ก็ยิ่งกระแทกลงไปบนใจ คนไม่กี่คนจริงๆที่รู้อย่างแน่ชัดแล้วว่าการเกิดเป็นทุกข์ การแก่เป็นทุกข์ การตายเป็นทุกข์

จนกว่าจะได้สัมผัสความแก่ ความเจ็บ ความตายด้วยตนเอง คนหนุ่มคนสาวเรี่ยวแรงดีๆก็มักจะเลือกกิจกรรมบดบังทุกข์ต่างๆเป็นที่พึ่ง แขวนชีวิตเอาไว้บนความประมาท มีคอมเม้นท์หนึ่งของบทความนี้ได้พูดไว้ว่า ถ้าน้องคนนี้อายุซัก 80-90 หรือกำลังเป็นโรคร้ายแรงเช่นมะเร็งอยู่ เค้าคงไม่พูดอย่างงี้ ไม่คิดอย่างงี้้ เพราะฉะนั้น คนป่วย คนแก่ ที่ได้เห็นสัจธรรมข้อนี้ด้วยตาตัวเอง และสัมผัสมันแล้วด้วยเนื้อหนังของตัวเอง รู้แล้ว เข้าใจแล้ว ก็อาจจะจัดได้ว่าเป็นคนที่โชคดี… เพียงแต่ไม่รู้ว่าจะโชคดีพอให้มีเวลาได้แก้ตัวรึเปล่า… หลายครั้งกว่าจะรู้ตัวว่าเดินผิดทาง มันก็อาจจะสายเกินไปที่จะแก้ไขอะไรต่ออะไร

อย่าใช้ชีวิตบนความประมาทเลยค่ะ อย่ารอจนวันที่ต้องสัมผัสความทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยตัวเองเลย อย่ารอโอกาสที่ 2 เพราะมันอาจจะไม่มี

ว่ายทวนกระแสกิเลสมันยากจริงๆ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

========================================================

Q: “พี่คะ หนูมีความสงสัยว่า ถ้าหนูไม่ได้มารับรู้เรื่องจิตสุดท้าย เรื่องโลกนี้โลกหน้า หนูจะใช้ชีวิต มีความสุขมากกว่านี้หรือเปล่า?

ถ้าหนูเหงา หนูก็แค่ออกไปเที่ยวกินเหล้า ถ้าหนูนึกเกลียดใคร ก็เกลียดเลย ไม่ต้องกลัวการจองเวร ต่อกัน ถ้าหนูไม่รู้ หนูจะไม่กดดัน และใช้ชีวิต โดยที่ไม่คิดว่าอะไรรอเราอยู่ข้างหน้า

คนข้างตัวหนูคิดว่า เกิดชาติหน้า เค้าก็ไม่รู้แล้ว ว่าเค้าเป็นใครในชาตินี้ ก็ใช้ชีวิต ตามประสาโลกๆไป เหมือนชาตินี้ …

หนูเห็นแก่ตัว กับตัวตนชาติหน้าหนูหรือเปล่าค่ะ คือหนูสับสนว่า หนูรู้เรื่องพวกนี้ ให้มันทุกข์ใจทำไม ในเมื่อในชีวิตประจำวัน หนูแทบไม่เคยรู้สึกตัวเลย

หนูมีคำสอนที่ได้ข้อมูลผ่านการอ่าน วนไปมาซ้ำๆ วันดีคืนดีแวะมาสะกิดหลังหนูไวๆ ทีนึงให้หนูรู้สึกแย่ กับตัวเอง … ว่า อยากนิพพานแต่ปาก แต่ไม่ยอมปฏิบัติในแนวทางแม้แต่น้อย

เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ศีลห้า หนูโอเคมาก แต่ทุกวันนี้พร่องไปมากเหมือนกัน หนูเริ่มกลับมาตบยุง ฆ่ามดแล้วค่ะ

หนูไม่เห็นประโยชน์ ของการตามรู้ พอๆกับที่หนูทราบประโยชน์ของมัน … ทำแล้วมันเกร็งๆและอึดอัด

ขออภัยนะคะ ที่หนูคาดหวังว่าพี่จะช่วยคลายความสับสนให้หนูได้ พอๆกับที่หนูรู้ว่า คำสอนหรือความรู้มากมาย ไม่มีประโยชน์อะไร หากเราไม่ลงมือปฏิบัติ …

หนูรู้ว่านิพพานคือที่สุด แต่บางครั้ง หนูก็อยากให้หนูไม่รู้อะไรเลย ขอบคุณค่ะ”

================

A: เคยดูหนังเรื่อง The Matrix ไหม ปีนี้เป็นปีที่หนังเรื่องนี้อายุครบ 20 ปีแล้ว เร็วเนาะ

วันก่อนพี่เพิ่งหยิบแผ่นหนังเรื่องนี้มานั่งดู
ในภาคแรก ซึ่งเป็นภาคที่ดีที่สุด ถ้าเราเคยดูและจำได้

มิสเตอร์แอนเดอร์สัน หรือนีโอ ก็เป็นเหมือนคนทั่วไป
ทำงาน มีชีวิต หาเลี้ยงชีวิต แต่เขาต่างจากหลายคนตรงที่เขามีคำถาม

นีโอ มาเจอมอร์เฟียรซ์ แล้วมอร์เฟียรซ์ให้เลือกว่าจะกินยาเม็ดไหน
ถ้ากินเม็ดสีน้ำเงิน ก็จะกลับไปมีชีวิตแบบที่เคยเป็นมา
หลงๆ ไหลๆ ไม่รู้ ไม่สงสัย เลิกตั้งคำถามอะไรเรื่องชีวิตกับตัวเอง

ถ้ากินเม็ดสีแดง ก็จะเห็นสิ่งที่อยู่ลึกลงไปกว่าเปลือกนอก
ของสิ่งที่เราเคยเรียกมันว่าชีวิต

ได้เห็นว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา แท้จริง (จิต)เราหลับอยู่
ไม่เคยตื่นขึ้นมา ไม่เคยมีอิสระ เราเป็นทาสของกิเลสเสมอมา
และไม่เคยเห็นความจริงของตัวเอง

มีหลายคนที่มาเจอมอร์เฟียรซ์ แล้วเลือกกินยาเม็ดสีน้ำเงิน
ไม่ใช่ทุกคนหรอกที่เลือกกินยาเม็ดสีแดง

ถึงจะมีส่วนน้อยที่เลือกกินยาเม็ดสีแดงจนได้ตื่นรู้ ได้เห็นความจริงเบื้องต้น
แต่ไม่ใช่ทุกคน ที่เห็นประโยชน์ เห็นคุณค่า และยินดีในความจริงที่รู้

ถ้าจำได้ ใน The Matrix มีตัวละครนึงชื่อ ไซเฟอร์
เป็นหนึ่งในคนที่กินยาเม็ดสีแดงมาก่อน แต่ยอมหักหลังมอร์เฟียร์ซ
เพื่อจะได้กลับไปอยู่ใน Matrix อีกครั้ง

เพราะเขารู้สึกว่าชีวิตนอก Matrix มันจืดชืด
และนึกเสียดายว่า รู้งี้ ตอนนั้นเลือกกินยาเม็ดสีน้ำเงินซะก็ดี

ฉะนั้น เราไม่ได้แปลก ไม่ได้ผิดปกติ เราก็เป็นเหมือนไซเฟอร์นี่แหละ

สมัยพุทธกาล ก่อนที่โกลิตะ กับอุปติสสะมาณพ จะบวชเป็นพระในชื่อที่เราคุ้นมากกว่าว่า พระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร

ท่านก็เริ่มจากความสงสัย การตั้งคำถาม และหาทางพ้นทุกข์เหมือนนีโอ

ตอนทั้งสองได้ฟังธรรมจนเป็นพระโสดาบันทั้งคู่แล้ว
ด้วยความกตัญญู ท่านจึงคิดถึงอาจารย์คนแรก คืออาจารย์สัญชัย

จึงไปกราบอาจารย์ แล้วชวนให้ไปหาพระพุทธเจ้าด้วยกัน
เพราะอยากให้อาจารย์ผู้มีพระคุณได้เจอทางพ้นทุกข์ด้วย

แต่ชวนยังไงอาจารย์สัญชัย ก็ไม่ยอมไป แถมพออ้อนวอนมากเข้า
อาจารย์สัญชัยเลยถามว่า….

….พวกเธอว่า ในโลกนี้มีคนโง่หรือคนฉลาดมากกว่ากัน
อุปติสสะ ตอบว่าคนโง่มีมากกว่า คนมีปัญญามีน้อย

อาจารย์สัญชัย จึงบอกว่า งั้นก็ให้คนมีปัญญา ไปหาพระสมณโคดม
ส่วนเราจะได้อยู่ต้อนรับคนโง่ ซึ่งมีเยอะกว่า ที่นี่

ฉะนั้น ไม่ได้แปลว่าคนที่รู้ว่า อะไรดี ดีกว่า ดีที่สุด จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเสมอไป
หรือจะพูดก็ได้ว่า เราก็เลือกสิ่งที่คิดว่า ดีที่สุด สำหรับเราเท่านั้นเอง

แต่ถ้ายังคิดว่า พระพุทธเจ้า มีจริง พระธรรม มีจริง พระสงฆ์มีจริง
สังสารวัฏมีจริง พระอรหันต์มีจริง นิพพานมีจริง บุญบาปมีจริง กิเลสมีจริง ก็ต้องสู้นะ

งานข้ามสังสารวัฏนี่ ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า
มันเป็นงานพายเรือทวนน้ำ ไม่ใช่งานสบายหรอก ลำบากเสียอีก

ปล่อยเรือไหลตามน้ำสิ สบายออก แต่มันก็ออกทะเลไปเรื่อยๆ
ปลาที่ไม่ยอมว่ายทวนน้ำ ก็มีแต่ปลาตาย

ถ้าเรายังอยากตายแล้ว ตายอีก ก็ว่ากันไม่ได้ พี่ก็แค่เสียดายแทน
แต่ถ้าคิดว่า ยังอยากสู้ ก็ต้องหาตัวช่วยสร้างฉันทะให้ตัวเอง

ไปหาครูบาอาจารย์ ไปฟังท่านเทศน์บ้าง ไปอ่านประวัติพระพุทธเจ้า
ประวัติพระสาวกบ้าง ประวัติครูบาอาจารย์บ้าง

มันก็เหมือนการทำสงครามน่ะ บางทีเราแพ้ ก็อาจจะคิดได้เหมือนกัน
ว่ารู้งี้ ไม่สู้ตั้งแต่ทีแรก ก็ดี ไม่เหนื่อย ไม่ต้องรู้สึกแย่แบบนี้

แต่อาจจะลืมไปว่า ถ้าไม่สู้เลย เราก็เป็นทาสกิเลสไปเรื่อยๆ
เหมือนคนทั่วๆไปใน Matrix ที่เป็นแค่แหล่งพลังงานให้มัน

วันนี้เราสู้ เราอาจจะแพ้ แต่ไม่ได้แปลว่าสงครามมันสิ้นสุดนะ
ถ้าเราไม่สู้เลย นั่นแหละเราจะแพ้แน่ๆ แต่ถ้าสู้แล้วแพ้ อย่างแย่ก็แค่ลุกมาสู้ใหม่

เหมือนทอม ครูซ ในเรื่อง Edge Of Tomorrow น่ะ
หรือจะยอม Live Die Repeat อยู่แค่นี้ล่ะ

Credit: ธนาคารความสุข

Posted in Uncategorized | Leave a comment

All Things Shall Pass Away

Once in Persia ruled a king
Who upon his signet ring
’Graved a motto true and wise,
Which, when held before his eyes,
Gave him counsel at a glance
Fit for any change or chance.
Solemn words, and these were they:
“Even this shall pass away.”
 
Trains of camel through the sand
Brought him gems from Samarkand;
Fleets of galleys through the seas
Brought him pearls to rival these.
Yet he counted little gain
Treasures of the mine or main.
“Wealth may come, but not to stay;
Even this shall pass away.”
 
’Mid the revels of his court,
In the zenith of his sport,
When the palms of all his guests,
Burned with clapping at his jests,
He, amid his figs and wine,
Cried: “Oh, precious friends of mine,
Pleasure comes, but not to stay —
Even this shall pass away.”
 
Lady, fairest ever seen,
Was the bride he crowned his queen.
Pillowed on his marriage bed
Softly to his soul he said:
“Though no bridegroom ever pressed
Fairer bosom to his breast,
Mortal flesh must come to clay —
Even this shall pass away.”
 
Fighting in a furious field,
Once a javelin pierced his shield,
Soldiers with a loud lament
Bore him bleeding to his tent.
Groaning, from his wounded side,
“Pain is hard to bear,” he cried.
“But, with patience, day by day,
Even this shall pass away.”
 
Towering in the public square,
Twenty cubits in the air,
Rose his status grand in stone;
And the king, disguised, unknown,
Gazing on his sculptured name,
Asked himself: “And what is fame?
Fame is but a slow decay —
Even this shall pass away.”
 
Struck with palsy, sere and old,
Standing at the gates of gold,
Spake him this, in dying breath:
“Life is done, and what is death?”
Then, in answer to the king,
Fell a sunbeam on the ring,
Answering, with its heavenly ray:
“Even death shall pass away.”
 
By Theodore Tilton
 
Impermanence exists in everything. There is no need to react. Keep the equanimous state of mind. Look inward and discover real peace and happiness within you.
 
 
Posted in Uncategorized | 2 Comments

How to get full benefit from your meditation retreats

Before you continue reading, let me give you a word of warning that this entry is written for serious perspective meditators only. In this entry, I will write about meditation techniques which will most probably be taught during the retreat as well. However, I personally found that it would benefit me more if I knew about these techniques before hand as the instructors often either teach the techniques a little bit too late or they don’t teach them as detailed as I wished them to. After finish your reading, please do not attempt to meditate on your own as I have left out quite a lot of details that’s essential for meditation practices. Practicing without instructor’s guidance and supervision can be harmful.

eightfoldpath

The very first thing I want you to understand is the purpose of practicing meditation. I know and understand that some of you turn to the retreat to get peace. Some turn to the retreat as an escape from cruel reality of the world. Others might have heard of the magical healing power of meditation that can help cure incurable diseases and decide to join the retreat. All of these are surplus or the positive side effects but they are not real purposes of meditation. During the retreat, please always keep in mind that the real purpose of meditation is to end suffering. Only with this mindset that you will get full benefit out of your retreat.

There are various methods of practicing meditation in the world. The most well-known method to foreigners attending meditation retreats in Thailand is Anapanassati which is mindfulness of breathing. Practicing Anapanassati, meditators have to be aware of their breath. When inhale, meditators should take note of where the air hits each part of their nostrils. Does the air go through only one side of the nostrils or both? Which nostril does the air go into and which nostril does the air come out from? etc etc..

resized_meditation

It is important to understand that, for each and every monastery or meditation center, there will almost always be some variation in the techniques of practicing Anapanassati. Some centers will ask you to be aware of your breath until it reaches your stomach. Some centers will ask you to be aware of your breath only when it is in your nostrils. All these don’t matter. Just follow instructions of that particular meditation center and you will be fine. Mindfulness is the key and it is the only thing you need to care about. Do try to stick to the method that the center teaches though. Do not go back to the method you’ve learnt from other centers just because you are more familiar with it. Otherwise, you will be stuck between the two methods, confused and frustrated.

Even though Anapanassati is mindfulness of breathing, serious meditators do need to be mindful of not only with the breathing but also with every other thing that they have to do. How mindful does one need to be? Let’s take eating for example. When you eat, you have to take note of taste of the food that’s in contact with your tongue. Be aware of your judgement of the food. If you like the food, take note of that emotion. If you don’t like it or don’t feel anything towards it, you will also have to take note of the emotion in the same manner. If you feel the food is too sweet, too salty, too blend, take note of the sensation. Be aware of how the utensils feel in your mouth. Is it hard? Is it cold. Take note of all the feelings inside your mouth and then on your teeth while you are chewing on your food. Different kinds of food give different feelings. That’s what we’ve never notice in our everyday life. Watch carefully how your tongue moves around inside your mouth and how it moves the food from on side to the other. Also when swallowing the food, take note of the feeling when it slides down your throat. Feel the food that moves down inside your body into your stomach. Try to be aware of it as best you can. Be alert at all time. Be very detailed with the practice. That’s the mindfulness of eating.

Same kind of mindfulness/awareness has to be applied to walking, brushing teeth, showering. When you walk, walk mindfully. Feel your feet moving up and down. Be alert of how they move. Notice how your feet feel when you step on different materials on the ground such as sand, grass, wood and concrete. If you are wearing flip flops  how do your feet feel with each step you take?

samati

When meditation is mentioned, images that pop up in our mind are people peacefully closing their eyes, sitting with their legs crossed. In reality, meditation can actually be done while walking as well. Mindfulness of walking previously explained is pretty similar to walking meditation. In walking meditation, however, meditators usually have to walk slower than walking mindfully. This is to make sure that every single move is taken note of. This may not be the practice that’s encouraged and taught in some meditation centers but these centers will most probably ask you to walk mindfully nevertheless. Mindfulness is the key, remember?

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

When practicing meditation, continuity is very important. I just can’t emphasize this enough. People normally get lazy to remain mindful because it is so much against their habit and familiarity. If you only meditate during the meditation session, the result that you get will not be as strong and some of you may have to face with boredom, frustration or, worse yet, rage. Be mindful and you will realize how fast the time passes.

Another important thing to keep in mind is equanimity. What we are used to doing is to react to the outside factors. When waves of heat hit our body, for example, what we normally do is to react to it. Some people may get annoyed. Others may feel comfortable. During the retreat, it is best to experience the heat as it is and not react to it but if you can’t help but to react to the heat just because it is so automatic, don’t worry. Just watch that feeling growing inside you by observing how your body react to that emotion. You might feel ticklish or feel the heart tighten up or feel your muscle throb. It doesn’t matter what the physical reaction is, keep calm, remain equanimous and watch the reaction closely.

The same goes for pain and tired muscles during the day. Some meditation centers will ask meditators to keep the same posture for at least 1 hour. No stretching of arms and legs in the meditation session. The result is all the complaints from many meditators. Well, pain is just like everything else. Watch it closely with equanimous mind. See how it’s going to turn out to be. If you feel something magical happens, that’s not magic that’s natural. Remain equanimous and continue with your practice.

sand_clock[1]

With this being said, meditation is the process that takes time. Think about how long you have been living your life mindlessly, you can’t perfect yourself at living mindfully in a day or two. You can’t also expect peace and happiness the moment you start your retreat. Many meditators come to the retreat expecting peace. They will, however, find the opposite.

Mindfulness with breathing may sound easy enough, after all it’s just watching yourself breathing in and out. Well, you thought wrong. The more you want to concentrate on breathing, the more you will find that your mind keep wandering off to somewhere else ever so often. You will also most probably wonder why your usually quiet mind becomes so talkative. Don’t get upset, remain equanimous, look into your thinking equanimously and come back to your breath once again. It doesn’t matter how many times your mind wander off. This is natural. This is how your mind works, you just never take time to look at it. The most important thing here is to make sure that you are determined to get back to your breath every time you wander off and if peace is what you wish for, you will get that reward afterwards.

Keep the equanimous state of mind no matter what happens. Try not to get annoyed with every little thing that happens around you, like people coughing in the mediation hall or people in front of you walking a little bit too slow. This doesn’t mean that you have to bury all the emotions inside you or completely eject them. It is best to accept that you feel angry or annoyed or sad. Just be aware of those emotions, watch it growing and notice your body’s reaction.

Please also understand that everything at the retreat may not be as comfortable as your house. The food may not be the best you have ever tasted. Many monasteries or meditation centers will not serve dinner. This is not fatal and it is not because they are too stingy or trying to save cost. No eating after lunch is actually one of the eight precepts that meditators usually have to follow (some centers only require meditators to follow 5 precepts). This is to prevent bloating and sleepiness during meditation session. Besides, you don’t really use much of your energy during the retreats. Two meals per day is enough to get you through the day. Eat to sustain life. Don’t eat to pamper yourself.

20130217_064259

ห้องนอน

Another one of the eight precepts is to not sleep in big and high beds. Usually, beds in the monasteries or meditation centers are not as big and specious as the one in your house. This is so to prevent over pampering yourself and, as a result, unnecessarily feeding your ego. Beds are often very acceptable in my opinion but some monastery will go as far as giving meditators concrete or wooden beds and wooden pillows to sleep on. Yes, I slept on those before. Concrete or wooden bed was fine. I didn’t care. Wooden pillow was, however, a shock. I could feel annoyance growing inside of me. That time I wasn’t as good at meditation as I am now. I didn’t take note of the emotion whatsoever but I was patient enough to just be quiet and sleep on the hard pillow for 7 nights. I found that it was fine as  long as I was not overly frustrated and kept calm. 7 days at the retreat was peaceful. I felt good despite the physical discomfort from time to time. One day  you will learn that physical discomfort is practically nothing as long as your mental is strong. Meditation will help your mind power reach its potential.

Another important issue is about sleeping. Sometimes the unfamiliar atmosphere will give meditators sleepless nights. Many meditation centers will also wake you up as early as 4 am in the morning to meditate. That makes a lot of people feel they don’t get enough sleep. Normally the schedule of the day at each center will end at 9 pm or 10pm. That means you will get 6-7 hours of sleep. That’s pretty much enough for an average adult but meditators will complain of sleepiness during the meditation session nevertheless. If you feel sleepy during meditation session, watch the sleepiness like you watch every other emotions. Try not to fall asleep. Centers will teach you techniques to get over your sleepiness. Follow the instructions. Again, do not fall asleep. You may think that’s insane but trust me. Sleepiness cannot win over your mind power. Also, if something almost magical happens, that’s not magic. Keep calm. Remain equanimous and continue with your practice.

Another undesirable thing that you will experience during your retreat is boredom and the urge to leave the center. If you really want to leave, no on can stop you but ask yourself if you want to live with self-doubt all your life. If you can’t complete your retreat, there will be at least one time in your life that you will have to come across people who really see benefits of meditation and start telling you how meditation has helped with their mind power and personal life. When that happens, you will most probably be confused and start to question your own ability. That’s harmful. Try to complete the retreat and follow the instructions.

During the retreat, if you ever start questioning the effectiveness of meditation or the expertise of your instructors, keep all the questions behind you first. Take note of the “doubting” mind and don’t let them disturb your equanimity for now. Have a bit of faith in what you are doing because, after all, there are so many people who have gain lots of benefit from it before. This method can’t be completely bad. Meditation is not like practices in some religions that can’t be questioned and when you ask why you can’t question, someone will tell you that you just need to believe in it that way. In other words, you will not get any answers forever and ever. With meditation, however, you can be curious and you will get answers to satisfy your curiosity but before you can do that you have to get your mind unclouded. Extreme curiosity will shake your equanimous mind and hinder your progress. Just carefully watch the reality within you and the answers will eventually come to you on their own but this, again, takes time. If you can’t get any answer during your retreat, you will at least see the hint of truth. I don’t know about you but when that happened to me, it was the most encouraging thing that kept me going during the retreat.

I know this is a long entry and you might have skipped many paragraphs before you are reading the last one here. That’s alright. Don’t worry. It doesn’t mean that you will get nothing out of your retreat. As I’ve previously mentioned, what I’ve explained here will also be taught during your retreat. Give it your all before you say you cannot do it.

May peace and happiness be with you always. Good luck with your retreat.

Photos: http://www.weekendhobby.com/board/photo/picture%5C66255084336.jpg, http://www.sati99.com/images/1130366420/7.jpg, https://lh5.googleusercontent.com/-x5cS1RRw5Do/TXP9UvoDXmI/AAAAAAAAAEc/4q4_RA7Z1UA/s1600/eightfoldpath.png, http://www.examiner.com/images/blog/EXID47909/images/resized_meditation.jpg, http://4.bp.blogspot.com/-RUC8D31xjfI/TXTwf1SuRYI/AAAAAAAAAQU/SkLr42OdzYg/s400/sand_clock%25255B1%25255D.JPG

Posted in Uncategorized | Leave a comment

Review: ธรรมธานี (ตามแนวทางท่านอาจารย์โกเอ็นก้า)

ธรรมธานี

วันนี้จะมาพูดถึงศูนย์ปฎิบัติธรรมธานี หลังจากที่ห่างหายไปนานมากๆๆๆๆ เพราะยุ่งจริงๆค่ะ (เฮ้อ ไม่อยากแก้ตัวด้วยคำนี้เลย) แต่อย่างไรก็ตาม ศูนย์ปฎิบัติธรรมธานีนี้อยากรีวิวให้คุณๆได้อ่านทำความรู้จักกันจริงๆค่ะ ไม่ใช่เพราะตัวศูนย์หรอกนะค่ะ แต่เป็นเพราะวิธีการปฎิบัติและหลักคำสอนของท่านอาจารย์โกเอ็นก้าเป็นที่น่าประทับใจเอาซะมากๆ อดจะแชร์ไม่ได้

M_Id_160534_goenka

อย่างที่ได้เกริ่นมาแล้วนะค่ะว่าที่ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานีนี้เค้าจะสอนการปฎิบัติตามแนวทางของท่านอาจารย์ เอส เอ็น โกเอ็นก้า ซึ่งตัวท่านเองเป็นคนเชื้อชาติอินเดียที่ไปเกิดและเติบโตในประเทศพม่า เรื่องราวว่าด้วยการทำความรู้จักกับธรรมะของท่านก็ค่อนข้างน่าสนใจค่ะ เพราะตัวท่านเองเริ่มแรกไม่ได้เป็นคนพุทธ ตระกูลของท่านนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอย่างเคร่งครัด แต่ที่ท่านได้เข้ามานับถือและปฎิบัติในแนวทางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นเพราะ ท่านเป็นโรคไมเกรนชนิดที่ไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งถึงแม้ว่าท่านจะเป็นนักธุรกิจที่มีเงินมากคนหนึ่งในพม่า และได้ออกเดินทางไปทั่วโลกเพื่อรักษาโรคของท่าน แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จนเมื่อวันหนึ่ง เพื่อนของท่านแนะนำให้ท่านเข้าปฎิบัติกับท่านอาจารย์อูบาขิ่น ท่านจึงหายจากโรคไมเกรนที่ท่านอธิบายว่ามันน่าสุดแสนจะทรมาน

ถึงแม้เรื่องราวความน่าอัศจรรย์นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของประกายแห่งความหวังให้แก่ผู้ป่วยโรคร้ายแรงหลายๆคน แต่ทางศูนย์ก็ไม่แนะนำให้ท่านเดินทางมาปฎิบัติเพียงเพื่อต้องการให้หายจากโรค เพราะท่านจะคิดแต่เพียงว่าวันนี้ท่านรู้สึกว่าท่านดีขึ้นแล้ว วันนี้ดีขึ้นอีกแล้ว ส่วนวันนี้อาการแย่ลง จิตใจของท่านจะไม่สามารถจดจ่อกับการปฎิบัติได้อย่างแท้จริง และเรื่องราวของธรรมะอันบริสุทธิ์จะกลายเป็นเพียงยาทิพย์รักษาโรคเท่านั้น ซึ่งผิดจุดประสงค์ในการปฎิบัติเป็นอย่างมาก พึงนึกไว้ให้สม่ำเสมอค่ะว่าเรามาที่นี่เพื่อปลดปล่อยตัวเราจากพันธนาการของตัวกิเลสจริงๆ เราจึงจะได้รับประโยชน์จากการปฎิบัติอย่างสูงสุด

เนื่องจากการปฎิบัติที่นี่ถือเป็นการปฎิบัติธรรมแบบเข้มข้น ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าเปรียบเทียบการปฎิบัติของเราเหมือนการทำการผ่าตัดจิตใจครั้งที่ใหญ่และสำคัญมาก เราจึงอยากให้คุณๆได้อ่านทำความเข้าใจกับหลักสูตรให้มากที่สุดด้วยตนเองที่เว็บไซต์ของทางศูนย์เสียก่อน ซึ่งก็คือ www.thaidhamma.net ให้คุณผู้อ่านๆทำความเข้าใจกับตัวหลักสูตรที่ “คำแนะนำในการเข้าอบรม” และถ้าคุณคิดว่าคุณพร้อมที่จะปฎิบัติตามกฎของเค้าก็เริ่มเข้าดูตารางอบรมได้เลยค่ะ

จริงๆแล้วศูนย์ปฎิบัติธรรมตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้ามีทั้งหมด 9 ศูนย์ เมื่อคลิกดูตารางอบรมคุณจะเห็นทุกๆรอบการปฎิบัติที่จะจัดขึ้นในทุกๆศูนย์ อยากจะไปศูนย์ไหนก็ได้หมดค่ะ แล้วแต่ความสะดวก เราเชื่ออย่างนึงว่าศูนย์ปฎิบัติทุกศูนย์ของท่านอาจารย์โกเอ็นก้าถูกจัดขึ้นมาดีทุกศูนย์ เพราะว่าได้สอบถามพี่ๆที่ไปมาแทบทุกศูนย์มาแล้ว ส่วนธรรมธานีนี้เป็นศูนย์ที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่ศูนย์ที่ดีที่สุดในนิยามของใครหลายๆคน แต่เป็นศูนย์ที่เราสะดวกในการเดินทางมากที่สุด เราจึงเลือกไปที่ศูนย์นี้ค่ะ

นอกจากตารางปฎิบัติแบบที่รวมทุกศูนย์ไว้ด้วยกันแล้ว เราก็ยังสามารถดูตารางปฎิบัติของที่ใดที่หนึ่งได้ด้วยการคลิกบนชื่อศูนย์ปฎิบัติที่ต้องการ ซึ่งจะอยู่ทางด้านขวาของหน้าหลัก เมื่อคลิกเข้าไปจะเห็นแผนที่และคำแนะนำในการเดินทางไปศูนย์นั้นๆ  ถ้าต้องการจะดูตารางปฎิบัติของศูนย์ที่เราเลือก ก็คลิกตามลิงค์บนหน้านั้นได้เลยค่ะ ตรงนี้ขอแปะไว้เฉพาะแผนที่ไปศูนย์ธรรมธานีเท่านั้นนะค่ะ

map1

ส่วนด้านล่างนี้เป็นรูปของในโครงการและที่อยู่ของศูนย์ปฎิบัติพร้อมเบอร์ติดต่อค่ะ

 

ที่ตั้ง

เลขที่ 42/660 หมู่บ้านเค.ซี.การ์เด้นโฮม
ถ.นิมิตใหม่ แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510
โทร.0-2993-2744, 08-7314-0606
โทรสาร 0-2993-2799

ควรอย่างยิ่งที่จะจดเบอร์โทรของศูนย์ไว้ค่ะ เพราะศูนย์หายากมาก และแท็กซี่ก็ไม่ค่อยยอมไปเพราะมันไกล วิธีการเดินทางรบกวนเข้าไปดูที่เว็บไซต์ของศูนย์ค่ะ

เมื่อเราเลือกวันเวลาได้แล้วก็คลิกบนชื่อหลักสูตรของวันนั้นๆ จากนั้นให้ลงไปส่วนล่างสุดของเพจ คลิก “ลงทะเบียนอบรม” และเริ่มการสมัครได้เลยค่ะ ต้องบอกก่อนว่าผู้เข้าปฎิบัติต้องอายุ 17 ปีขึ้นไปเท่านั้นนะค่ะ และควรจะต้องสมัครก่อนหลายๆเดือน แต่ต้องไม่นานเกินกว่า 4 เดือนก่อนวันเข้าอบรมค่ะ

เมื่อไปถึงศูนย์ตอนเวลาประมาณ 15.00-17.00 น. ก็เริ่มลงทะเบียน ฝากโทรศัพท์ ของมีค่า เครื่องเขียน และยาต่างๆที่เค้าไม่อนุญาติให้เก็บไว้กับตัวระหว่างปฎิบัติ หลักๆจะเป็นพวกยาที่ทำให้ง่วง ยาแก้ปวด ยาคลายเส้นอะไรทำนองนั้น ถ้าเป็นไข้ผู้จัดการหลักสูตรและธรรมบริกรจะให้เราทานยาสมุนไพรพวกฟ้าทะลายโจรแทน ซึ่งเค้าก็จะจัดเตรียมเอาไว้ให้อยู่แล้ว หลังจากฝากของทั้งหมดเราจะได้รับตั๋วสองใบ ใบแรกเป็นตั๋วฝากของมีค่า ใบที่สองเป็นตั๋วฝากของอื่นๆ ตั๋วนี้ให้เก็บเอาไว้เพื่อรับของคืนในวันที่ทางศูนย์กำหนดค่ะ

ที่จุดลงทะเบียนนี้เราก็จะได้รับถุงใส่ผ้าสำหรับผู้ปฎิบัติที่ต้องการใช้บริการซักผ้า ในราคาชิ้นละ 7 บาท ซึ่งค่าซักผ้านี้เราจะทำการชำระกันในวันที่ 10 ของการปฎิบัติค่ะ

เสร็จขั้นตอนปุ๊บก็รับเบอร์ห้องพักแล้วก็ขนของเข้าห้องพักของตัวเองได้เลยค่ะ

20130217_064411

ก่อนจะถึงห้องพักต้องผ่านส่วนด้านหน้าตามรูปด้านบนนี้ก่อนค่ะ รูปนี้ถ่ายจากบริเวณห้องพักออกไป โต๊ะพับที่วางอยู่ด้านซ้ายนี้ใช้วางของว่าง พวกขนมปัง แครกเกอร์ น้ำหวาน โอวัลติน กาแฟ ส่วนด้านขวาที่เห็นอยู่ลิบๆนั้นจะวางอาหารหลักๆของมื้อ เราก็จะมาเข้าแถวตักอาหารและของว่างกันที่ตรงนี้เลยค่ะ อาหารที่เราจะทานเป็นอาหารมังสวิรัติ ไม่มีเนื้อสัตว์ รสชาติอาหารที่นี่โอเคค่ะแต่รู้สึกเหมือนเค้าจะเน้นรสจืดหน่อย อาจจะเผื่อให้ผู้ปฎิบัติปรุงรสเองตามความต้องการ ที่นี่ไม่ได้บังคับให้ถือศีล 8 สำหรับผู้ปฎิบัติใหม่ แต่เค้าก็ไม่ได้มีข้าวเย็นเตรียมเอาไว้ให้ค่ะ เราต้องทานพวกขนมปังและของว่างอื่นๆแทน ส่วนผู้ที่จำเป็นต้องทานอาหารเย็นจริงๆก็แจ้งทางศูนย์เอาไว้ก่อนได้ เค้าจะเตรียมอาหารไว้ให้ทานนิดหน่อย ซึ่งก็จะเป็นอาหารของมื้อกลางวันซะเป็นส่วนใหญ่ แต่เราว่ามาถึงนี่ถือศีล 8 ไปเลยก็ดีนะค่ะ เพราะจริงๆวันๆนึงเราไม่ได้ใช้พลังงานอะไรเลย ทานมากก็จะทำให้ง่วง และอึดอัดเวลาปฎิบัติด้วย

20130217_064259

ด้านบนเป็นห้องพักน้อยๆของเราในอีก 10 วันข้างหน้าค่ะ จริงๆแล้วอารมณ์คล้ายๆที่สวนโมกข์ตะหงิดๆ อาจจะด้วยความเล็กของห้อง แต่ที่นี่ดูดีกว่า สะอาดกว่า ในห้องเราจะได้เครื่องนอนต่างๆ ประกอบไปด้วย หมอน ผ้าห่ม นวมหมอนสำหรับกันเหงื่อ ปลอกหมอน และผ้าปูที่นอน นอกจากนนี้แล้วก็จะมีอุปกรณ์การรับประทานอาหาร ทั้งถาดหลุม ช้อนส้อม ถ้วย แก้ว ช้อนขนม ช้อนชา แล้วเค้าก็จะมีผ้าเช็ดจานให้อีกหนึ่งผืนกับพัดลมให้อีกหนึ่งตัวด้วย เหตุที่ต้องมีพัดลมเพราะที่นี่จะเปิดแอร์ให้เฉพาะตอนนอน และตอนพัก 1 ชั่วโมงช่วงบ่ายเท่านั้น เวลาอื่นๆก็ต้องพึ่งพัดลมตัวนี้เลยค่ะ อยากแอบกระซิบว่าแอร์ที่ห้องนอนหนาวมาก เกือบทุกห้องต้องไปขอกระดาษมาปิดช่องแอร์กันหมด ถ้ากลัวหนาวควรเตรียมผ้าห่มหนาๆติดตัวไปด้วยจะดีกว่าค่ะ

20130217_064305

ด้านบนเป็นรูปบรรยากาศหน้าเบย์ หรือซอยห้องพักค่ะ หลังประตูที่ตรงๆเข้าไปนั้นเป็นที่ตากผ้า และทางไปห้องซักผ้าด้านหลังตึก ส่วนที่เห็นเป็นเหล็กกลมๆหน้าประตูห้องพักคือเหล็กวางถาดหลุมสำหรับรับประทานอาหาร ลืมบอกไปว่าแต่ละห้องเค้าจะให้เก้าอี้หัวล้านพลาสติก 1 ตัว เราก็จะวางถาดหลุมบนเหล็กนี้ แล้วก็ใช้เก้าอี้พลาสติกตัวนั้นในการนั่งทานข้าว ทานอาหารไม่ต้องมองใครเลย มองแต่บานประตูอย่างเดียว โดยส่วนตัวคิดว่าดีนะค่ะ ไม่เสียสมาธิดี ไม่ต้องพูดกันด้วย บางทีถ้าเราต้องนั่งจ้องหน้ากันนานๆ เราก็อาจจะอยากพูดกันขึ้นมาก็ได้

20130217_064340

ส่วนนี่ก็คือห้องน้ำค่ะ มีทุกอย่างในตัว อย่างนึงที่ดีคือ ห้องน้ำที่นี่เค้าคำนวณจำนวนมาได้เพียงพอต่อการใช้สอยของจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในเบย์นั้น ผู้ปฎิบัติไม่ต้องรีบมาก และไม่ต้องแย่งกัน เพราะเราก็ไม่เคยต้องแย่งห้องน้ำกับใคร

ที่ศูนย์ธรรมธานีที่กรุงเทพฯบรรยากาศศูนย์จริงๆแล้วก็ไม่เลวค่ะ เพราะถึงแม้จะอยู่ในกรุงเทพฯแต่ตั้งอยู่ไกลเอาซะมากๆอากาศจึงยังดีอยู่มากและยังมีความเป็นธรรมชาติอยู่ด้วย สถานที่โดยรวมมีความสะอาดพอสมควรค่ะ ไม่ต้องกังวลมาก อยู่ในระดับที่รับได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับธรรมบริกรที่มาช่วยดูแลเรื่องความสะอาดและเรื่องอื่นๆแทบทุกเรื่องของรอบปฎิบัตินั้นๆด้วย แต่เราก็ยังเชื่อว่าเมื่อพวกเค้าอาสามาแล้วก็คงจะต้องพยายามทำเพื่อผู้ปฎิบัติให้ดีที่สุดอยู่แล้วล่ะค่ะ

ทีนี้เริ่มเรื่องการปฎิบัติกันหน่อยนะค่ะ

การปฎิบัติตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้าเค้าว่ากันว่าเป็นวิธีการปฎิบัติที่สูญหายมานานกว่า 2500 ปี ก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะค้นพบวิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ในการปฎิบัติเพื่อการตรัสรู้และบรรลุถึง มรรค ผล นิพพาน เป็นวิธีดั้งเดิม ก่อนการถูกผสมปนเปไปด้วยเทคนิคการปฎิบัติต่างๆนานาที่อาจารย์ในยุคหลังๆพัฒนาต่อเติมขึ้นมา (เค้าว่ากันว่านะค่ะ)

วิธีการปฎิบัตินี้ก็คือ การพิจารณาเวทนาที่เกิดขึ้น และเห็นถึงความเป็นอนิจจังในเวทนานั้น โดยตลอดเวลา 10 วันนี้ เค้าจะเปิดเทปคำสอนของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ว่าด้วยเรื่องการปฎิบัติ แล้วตอนกลางคืนก็จะมีธรรมะบรรยายที่ทั้งสนุก และมีความเป็นวิทยาศาสตร์ในตัวด้วย

ในวันแรกๆเค้าจะให้เราปฎิบัติสมถะกรรมฐานโดยการสังเกตุดูลมหายใจโดยไม่มีคำบริกรรมใดๆ เอาแค่ความรู้สึกถึงการกระทบของลมหายใจบนส่วนต่างๆของจมูกและใต้จมูกล้วนๆ

ประมาณวันที่ 4 ช่วงบ่าย เราก็จะเริ่มทำวิปัสสนาโดยการกวาดความสนใจดูเวทนาบนร่างกายไปทีละนิ้วจนทั่วทั้งร่างกายตั้งแต่กระหม่อมไปจนถึงปลายเท้า ซึ่งการกวาดความสนใจนี้ก็สามารถทำได้หลายแบบแล้วแต่สถานการณ์ อยากรู้รายละเอียดต้องเข้าอบรมเองค่ะ เพราะถ้าสอนอย่างละเอียดตรงนี้กลัวจะสอนผิดและเกิดเป็นบาปได้ เนื่องจากการปฎิบัติวิธีนี้มันมีรายละเอียดในตัวอยู่เหมือนกัน

ในวันที่ 10 เราจะได้รับการสอนแผ่เมตตาหรือการทำเมตตาภาวนา เป็นการแผ่เมตตาที่ทำให้เรารู้สึกดีเอามากๆ ไม่เคยรู้สึกซาบซ่านและอบอุ่นอย่างนี้เลยจริงๆค่ะ เหมือนกับเรารู้สึกดีกับตัวเองจริงๆและพร้อมที่จะให้ความรักและความสุขกับทุกๆสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ด้วย อาจจะฟังดูยิ่งใหญ่ แต่รับรองว่าไม่เว่อร์ค่ะ หลังการแผ่เมตตาก็เริ่มพูดคุยกันได้ วันนี้เค้าจะให้เรารับของมีค่ายกเว้นโทรศัพท์คืน และในวันนี้เราก็สามารถช็อปปิ้งหนังสือธรรมะดีๆ ราคาสุดยอดของความถูกได้ด้วย

การปฎิบัติจะสิ้นสุดลงวันที่ 11 เวลาประมาณ 6.30 น. ซึ่งก่อนที่เราจะออกจากศูนย์ไปเค้าก็จะแนะนำวิธีการปฎิบัติในชีวิตประจำวันให้ ซึ่งดีมากๆค่ะ เหมือนเป็นการสรุป เพราะการปฎิบัติจะเป็นการปฎิบัติที่ไม่ได้ผล ไม่ได้ประโยชน์สาระอะไรหากไม่มีการนำไปใช้

หลายๆคนก็คงจะได้อ่านรีวิวจากหลายๆที่ และรับรู้ถึงความโหดในการปฎิบัติของที่นี่จากรีวิวเหล่านั้น ตอนอ่านรีวิวก่อนไปเราก็หวั่นๆเหมือนกัน แต่พอไปกลับมาจริงๆ เราว่ามันแล้วแต่ใจค่ะ เราเพียงแต่ปฎิบัติตามที่อาจารย์สอนอย่างจริงจัง ไม่ได้รู้สึกเดือดร้อนอะไร เราชอบนะ แล้วก็อยากนำกลับมาปฎิบัติที่บ้านทุกเช้า-เย็นอย่างที่เค้าแนะนำด้วย ทุกสิ่งที่อาจารย์ให้ทำมีเหตุผลในตัวเองและไม่มีผลร้ายต่อเราแน่นอนค่ะ

เป็นยังไงค่ะ พอจะอยากไปปฎิบัติธรรมกันบ้างรึยัง สำหรับผู้ที่ต้องการจะไป ขอทิ้งรายการเตรียมจัดกระเป๋าไว้ให้พิจารณาด้านล่างนี้ด้วยนะค่ะ

1. เสื้อผ้าสำหรับปฎิบัติ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสีขาว แต่ควรเป็นสีสุภาพ ไม่มีลาดลายและตัวเขียนต่างๆ ควรเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ลุกนั่งสะดวก ไม่โป๋ ไม่รัดรูป ไม่สั้น

2. ผ้าขนหนูและของใช้ส่วนตัวอื่นๆ

3. รองเท้าใส่ในอาคาร ซึ่งอาจจะเป็นยางหรือผ้าก็ได้ (อันนี้ในกรณีที่ไม่ต้องการใช้รองเท้ายางของทางศูนย์ค่ะ)

4. ทิชชู (อันนี้จำเป็นมาก เพราะทางศูนย์จะไม่มีให้ หรือไม่ก็มีน้อย)

5. ผ้าห่มสำหรับห่มนอน (จริงๆทางศูนย์ก็มีให้ แต่ห้องพักอากาศหนาวมากๆๆๆค่ะ แล้วก็ไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้ ห้องเราใช้กระดาษปะช่องแอร์แล้วก็ยังหนาวอยู่ คนขี้หนาวห้ามลืมเลยค่ะ) และถ้าใครไม่ชอบใช้ปลอกหมอนของศูนย์ก็นำไปเองได้ค่ะ

6. เสื้อกันหนาว ผ้าคลุมและถุงเท้าสำหรับใช้ในห้องปฎิบัติ เพราะห้องปฎิบัติเป็นแอร์แล้วก็หนาวเหมือนกันในบางครั้ง

7. ผงซักฟอก (ในกรณีที่ต้องการซักผ้าเอง)

8. เอกสารที่ทางศูนย์ให้เตรียมไปด้วยซึ่งจะอยู่ในอีเมลล์ยืนยันการปฎิบัติธรรม และ สำเนาบัตรประชาชน (ห้ามลืมค่ะ)

ยาวมากเลยโพสต์นี้ อาจจะยังตกหล่นอยู่หลายอย่าง แต่หวังว่ารายละเอียดประมาณนี้น่าจะเพียงพอในการใช้ประกอบการตัดสินใจได้นะค่ะ

ลองไปดูเลยค่ะ แล้วจะมีความสุขอย่างที่เรามีมาแล้ว

Be Happy ค่ะ

Posted in Uncategorized | Leave a comment

พื้นที่ชีวิต ตอน สมองแห่งพุทธะ

รายการนึงที่เราชอบดูมากที่สุดคือรายการพื้นที่ชีวิต ออกอากาศช่อง Thai PBS ทุกวันพุธ เวลา 22.00 น. และมีฉายซ้ำอีกทุกวันอังคาร เวลา 10.05 น.

จริงๆแล้วรายการเค้าทำออกมาได้ดีทุกตอน แต่ตอนที่เลือกมาให้ดูเป็นตอนที่ได้ความประทับใจเรื่องความพยายามนำเสนอพระพุทธศาสนาผ่านวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจจะช่วยเปิดประตูให้เด็กรุ่นใหม่ได้เข้ามาสนใจในตัวพระพุทธศาสนามากขึ้น (ก็เห็นเรียกร้องเหตุผลกันเหลือเกิน) แต่โดยส่วนตัวเรานั้น เรารู้สึกเฉยๆกับการไม่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยสนับสนุนการปฎิบัติทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงๆในการวิเคราะห์การทำงานของสมอง เพราะไม่ว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะมีมากเท่าไหร่ เราก็ยังไม่สามารถจะรู้และเข้าใจการทำงานทุกอย่างของสมองของเราได้ 100 เปอร์เซ็นต์เต็มอยู่ดี สิ่งที่เราได้รู้แล้วถึงเรื่องสมองยังน้อยอยู่มากถ้าเทียบกับการทำงานอย่างหนักและซับซ้อนของมัน

ส่วนคำอธิบายของพระพุทธเจ้าว่าด้วยเรื่องจิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ท่านพูดในภาษาคนที่รู้เรื่องแล้วอย่างดี รู้แบบ 100 เต็ม 100 ไม่รู้เหมือนกันว่าจะหาเหตุผลอะไรมายืนยันว่าความรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องจริง คงจะต้องให้ปฎิบัติเองและรู้เอง ของแบบนี้มันรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น ถ้าจะให้คนอื่นมาพูดอะไรต่างๆนานาให้ฟัง เค้าคงว่าคนๆนั้นมันบ้าไปแล้วแน่ๆ

Posted in Uncategorized | Leave a comment

แนะนำ: ยุวพุทธิกสมาคม (หลักสูตรธรรมบุตรีรัตนะ)

สืบเนื่องมาจากความประทับใจในยุวพุทธิกสมาคม หลักการคิด หลักการทำงาน และหลักการปฎิบัติ ทางบ้านของเราก็เลยส่งลูกหลาน ส่งลุงป้าน้าอาไปปฎิบัติที่นี่กันหมด และก็มีเจ้าตัวเล็กอายุ 11 ขวบ ติดสอยห้อยตามได้ผลพลอยได้ไปร่วมปฎิบัติในหลักสูตรเด็กของยุวพุทธฯด้วย

จริงๆตอนแรกเราตั้งใจไว้ว่าอยากจะให้เจ้าหนูไปปฎิบัติหลักสูตรเด็กแบบเริ่มต้น ซึ่งก็คือหลักสูตรพัฒนาจิตยุวพุทธฯ เป็นหลักสูตรของเด็กเล็ก ซึ่งจัดได้ดีมากๆๆๆ เด็กๆได้ทั้งความรู้เรื่องธรรมะเบื้องต้นและความรู้สึกสำนึกในเรื่องความผิดชอบชั่วดี ความกตัญญูรู้คุณ แถมสนุก ไม่น่าเบื่อด้วย แต่เจ้าหนูดันอายุเกิน เพราะหลักสูตรนี้เค้ารับเฉพาะเด็กอายุ 7-10 ปีเท่านั้น และเด็กก็สมัครเข้าปฎิบัติกันมากด้วย ถ้าใครสนใจหลักสูตรนี้ก็ต้องอย่าลืมขอรายละเอียดหลักสูตรไว้ก่อนล่วงหน้าเยอะๆนะค่ะ

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ของน้องเค้าก็ยังอยากให้น้องเข้าปฎิบัติ เลยไปหาหลักสูตรกัน และก็พบหลักสูตรธรรมบุตรีรัตนะ ซึ่งเป็นหลักสูตรของเด็กผู้หญิงอายุ 10-18 ปี ก็เลยได้เข้าอบรมในหลักสูตรนี้แทน

จากที่ได้ไปสัมภาษณ์น้องเค้า ในความรู้สึกเด็กคนนึงที่อาจจะเด็กเกือบที่สุดในคอร์สแล้วคิดว่าอยู่ในระดับที่รับได้ คือโหดในลักษณะที่ต้องถือศีล 8, นอนตื่นเช้า, ต้องเรียบร้อยกว่าปกติ และต้องนั่งสมาธินานกว่าคอร์สของผู้ใหญ่ด้วยซ้ำ แต่ก็ยังอยากจะไปอีกครั้งในปีหน้า อันนี้คิดว่าน่าจะเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จของคอร์สนี้ได้ ถือเป็นการปฎิบัติธรรมเข้มข้นสำหรับเด็กค่ะ

ธรรมะบรรยายที่น้องๆจะได้ฟังก็เป็นเรื่องความรู้เบื้องต้นบ้าง เรื่องลึกๆบ้าง จากที่ถามน้องหนูมาดูก็มีเรื่องของความกตัญญูรู้คุณซะมากค่ะ มีเรื่องความฝัน แล้วก็ให้ดูการ์ตูนพุทธประวัติ ให้ได้เรียนรู้เรื่องศีล 8, เรื่องมรรค หลักสูตรก็ยังสอนให้สวดพาหุงฯ โดยส่วนตัวคิดว่านี่คือการสร้างบารมีธรรมตั้งแต่เล็กๆ เข้าร่วมแล้วนอกจากจะได้สมาธิที่มากขึ้น สติที่แหลมขึ้น แล้วก็ยังได้รับการเน้นย้ำเรื่องการทำความดี เป็นเด็กดี ละเว้นความชั่วต่างๆด้วย (ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ยังไม่ได้รวมถึงบุญยิ่งใหญ่ที่ได้เข้าปฎิบัติ และถือศีล 8 ซึ่งแม้แต่คอร์สผู้ใหญ่ก็ยังไม่มี)

เกือบลืมบอกไปว่าหลักสูตรนี้ปฎิบัติที่อาคารธรรมนิเวศ อาคารเดียวกับที่เคยได้รีวิวหลักสูตรปฎิบัติของคุณแม่สิริไปแล้ว เพราะมีเด็กเข้าปฎิบัติถึง 400 คน อยากทราบว่าอาคารปฎิบัติและอาหารการกินเป็นยังไง ลองอ่านรีวิวหลักสูตรพัฒนาจิตฯ คุณแม่สิริได้ค่ะ ส่วนอาหารเย็นต้องงดนะค่ะ เพราะเป็นการถือศีล 8  แต่วิทยากรจะให้ดื่มน้ำปานะ คือน้ำหวานให้พลังงานถึง 2 รอบเพื่อกันน้องๆหิวค่ะ การใช้ชีวิตก็จะถูกจัดไว้เป็นเวลาที่แน่นอน มีคนดูแลตลอด คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องห่วงเลยค่ะ

เป็นกิจกรรมช่วงปิดเทอมที่อยากจะให้น้องๆลองเข้าร่วมดู คุณพ่อคุณแม่ชื่นใจแน่นอนที่จะได้มีนางฟ้าน้อยๆ กลับมาอยู่ในบ้าน ลองรับหลักสูตรนี้ไว้พิจารณากันดูนะค่ะ

Posted in สติปัฎฐาน 4, สถานที่ปฎิบัติธรรม | Tagged , , | Leave a comment

แนะนำหนังสือดี: จิตจักรพรรดิ

จิตจักรพรรดิเป็นเรื่องราวของกลุ่มคนที่มีสัมผัสพิเศษ ประมาณว่าหยั่งรู้วาระจิต หรือมองเห็นอนาคตของคนได้ ซึ่งแต่ละตัวละครก็จะมีความต้องการ ความหวัง ความฝันที่แตกต่างกัน เป็นนิยายที่สนุก น่าติดตาม และถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องราวของความสามารถที่อาจจะเรียกได้ว่าเหนือธรรมชาติ แต่เหตุและผลของความเป็นตัวละครตัวนั้น และความน่าจะเป็นของสถานการณ์ที่ผู้เขียนสร้างสรรค์ขึ้นมามันทำให้เราเชื่อสนิทว่าตัวละครทุกตัวมีตัวตนจริงๆ และทุกๆอย่างบนแผ่นกระดาษมันต้องเกิดขึ้นได้แน่ๆ

แต่ไฮไลท์เด็ดของหนังสือเล่มนี้มันไม่ได้อยู่ที่ พล็อตที่ดีที่สุด น่าติดตามที่สุด หรือตัวละครที่เหมือนจริงที่สุด สิ่งที่น่าประทับใจเรามากจริงๆ ของเรื่องจิตจักรพรรดิคือธรรมะ และหลักปรัชญาทางพระพุทธศาสนาที่สอดแทรกลงไปในเนื้อเรื่องได้อย่างแยบยลและกลมกลืนจนน่ายกย่อง

และเมื่ออ่านจบเราก็รู้ถึงความคุ้มค่าของทุกๆบาททุกๆสตางค์ที่เราได้ใช้ในการซื้อหนังสือเล่มนี้ เพราะดีกรีความสนุกมันคืนทุนไปมากโข ส่วนกำไรคือสาระความรู้มันมากกว่าความสนุกอีกหลายเท่าตัว อ่านแล้วทำให้รู้สึกว่าเราอยากเป็นคนที่ดีขนาดนั้นได้บ้าง แนะนำให้อ่านจริงๆค่ะ

ต้องขอขอบคุณคุณดังตฤณที่สร้างสรรค์หนังสือดีๆมาให้เราได้อ่านกัน

เกือบลืมบอกไปว่าถ้าไม่อยากซื้อหนังสือเค้าก็มีให้โหลดฟรีได้ที่เว็บไซต์ของคุณดังตฤณตามลิงค์ด้านล่างนะค่ะ

http://www.dungtrin.com/index.php?option=com_docman&task=cat_view&gid=100&Itemid=299

นอกจากนี้แล้วก็ยังสามารถโหลดหนังสือฟรีได้จาก play store ด้วยค่ะ

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.dungtrin.dungtrinbooks.jitjakapat#?t=W251bGwsMSwxLDIxMiwiY29tLmR1bmd0cmluLmR1bmd0cmluYm9va3Muaml0amFrYXBhdCJd

ส่วนใครที่ชอบเก็บสะสมหนังสืออย่างเรา ก็สามารถหาซื้อได้ตามลิงค์ด้านล่างค่ะ

http://www.booksmile.co.th/%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%A4%E0%B8%93

หนังสือตอนนี้มี 2 เวอร์ชั่น แบบเก่ามี 3 เล่มจบ เริ่มจากมาเฟียพลังจิต ตามมาด้วยลายเซ็นจักรพรรดิ แล้วก็โลกาวินาศ แบบใหม่เป็นแบบรวม 3 เล่มเข้าด้วยกันเหลือเล่มหนาๆเล่มเดียว มีซีดีเสียงอ่านแถมด้วย โดยส่วนตัวแล้วชอบแบบเก่า เพราะเค้าจะทำตัวหนาที่ข้อคิดดีๆไว้ให้ และเวลาจะพกหนังสือไปอ่านก็ไม่หนาหนักจนเกินไป แต่อันนี้เป็นความชอบส่วนบุคคลค่ะ

อย่าลืมไปหาอ่านกันนะค่ะ

Posted in แนะนำหนังสือ | Tagged , , , | Leave a comment

ตามรอยพระพุทธเจ้า

โพสต์นี้สำหรับคนที่อยากจะรู้จักที่มาที่ไปของพระพุทธเจ้าสมณโคดมในฐานะผู้ที่เคยมีชีวิตอยู่ในประวัติศาสตร์จริงๆ เป็นสารคดีที่ทำขึ้นมาด้วยความตั้งใจ จึงน่าสนใจ และน่าติดตามมากๆ วิดีโอแบ่งเป็นตอนๆอยู่แล้ว เลือกดูตามความสนใจได้เลยค่ะ แล้วคุณจะรู้และเข้าใจถึงอัจฉริยภาพของพระพุทธเจ้าในการบริหารองค์กรพระพุทธศาสนาที่คนอื่นเค้าชอบพูดถึงกัน ยิ่งดูยิ่งทึ่ง ยิ่งดูยิ่งรักพระพุทธเจ้า โชคดีจังที่ได้เกิดมาใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนา โชคดีที่มีใครช่วยจุดตะเกียงนำทางในวันที่มืดมิดที่สุดของชีวิต

ตามรอยพระพุทธเจ้า 1… แม่น้ำคงคา

ตามรอยพระพุทธเจ้า 2…กบิลพัสดุ์

ตามรอยพระพุทธเจ้า 3…พุทธคยา

ตามรอยพระพุทธเจ้า 4…พาราณสี

ตามรอยพระพุทธเจ้า 5… กรุงราชคฤห์

ตามรอยพระพุทธเจ้า 6…ปรินิพพาน

ตามรอยพระพุทธเจ้า 7…อโศกมหาราช

ตอนที่ 8 ปรัชญาที่เปลี่ยนไป

ตามรอยพระพุทธเจ้า 9 … ไปจากอินเดีย

ตามรอยพระพุทธเจ้า 10 … พุทธหิมาลัย

ตามรอยพระพุทธเจ้า 11…การมาของสาวก

ตามรอยพระพุทธเจ้า 12 … ไขปริศนา

Posted in Uncategorized | Leave a comment